วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

สถาปัตยกรรมไทย คุณค่าสู่สังคม


สถาปัตยกรรมไทย คือมรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญของชาติ เหตุเพราะสิ่งนี้เป็นผลงานรังสรรค์ที่เป็นภูมิปัญญาสั่งสมแห่งบรรพชนเรื่อยมานับแต่อดีตกาลนานมาแล้ว ทั้งเรือนไทย ตึกรามบ้านช่อง วัดวาอาราม ล้วนแล้วแต่สามารถเรียกได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมไทยได้ด้วยกันทั้งนั้น เพราะต่างก่อกำเนิดภายใต้สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะงานที่มีมาจากรากทางวัฒนธรรมไทยอย่างเห็นได้ชัด
 และมูลเหตุหรือจุดมุ่งหมายในของสร้างประกอบไปด้วยภูมิปัญญาสร้างสรรค์ที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม ซึ่งแตกต่างจากการสร้างอาคารอื่นๆ ซึ่งอาจมีคุณค่าในเชิงสถาปัตยกรรม แต่อาจมีคุณค่าในเชิงวัฒนธรรมไม่มากนัก ตัวแทนสำคัญของผลงานสถาปัตยกรรมไทยที่เปี่ยมด้วยคุณค่าเชิงวัฒนธรรมนั้นสามารถหาดูได้ง่ายๆ เพียงไปวัดทำบุญก็จะพบเห็นได้ทันที ยิ่งถ้าเป็นวัดที่สร้างอย่างปราณีต หรือมีช่างชั้นเยี่ยมเสกสรรค์ด้วยแล้วความงาม ความศรัทธา ก็จะปรากฎหรือสัมผัสได้ในใจของผู้ที่ได้ไปเยี่ยมเยือนได้ทันที สถาปัตยกรรมไทยดีๆ อย่างเช่นศาสนสถาน จึงมีคุณค่าต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง คุณค่าดังกล่าวอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป สามารถแจกแจงได้มากมายนอกเหนือจากคุณค่าทางศิลปกรรมอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ยังมีคุณค่าทางการศึกษา คุณค่าทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่คุณค่าทางเศรษฐกิจ ดังเช่นวัดวาอารามที่นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมกันอย่างมากมาย ซึ่งอาจจะไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของวัด แต่เป็นผลลัพธ์ที่ประจักษ์แจ้งดังนานาอารยประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรม เฉกเช่น สถาปัตยกรรมไทย ต่างได้รับประโยชน์ทางอ้อมนี้กันถ้วนหน้า และรักษาไว้ให้เดินควบคู่ไปกับงานสร้างสรรค์ใหม่ๆในปัจจุบัน สะท้อนออกซึ่งแนวคิดที่ว่าเราคงไม่อาจถวิลหาแต่อดีตอันเรืองรอง หรือไขว่คว้าแต่เทคโนโลยีอันล้ำสมัยเพียงด้านใดด้านหนึ่ง แต่ควรรับไว้และสร้างสมดุลให้แก่คุณค่าที่ดีทั้งสองด้านนั้น ดังเช่นการแพทย์แผนใหม่ให้ดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ หรือปรัชญาตะวันออกที่กล่าวถึงสมดุลย์ทางธรรมชาติที่ต้องมีสิ่งคู่กันเพื่อส่งเสริมให้กันและกัน


สถาปัตยกรรมไทยอย่างเช่นวัดวาอารามนั้นเปี่ยมด้วยคุณค่าดังกล่าวแล้วมากมาย และมิได้มีไว้สำหรับใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาเท่านั้น  แต่ยังมีไว้ชุบชีวิตที่เหี่ยวเฉาให้สงบและมีสติสำหรับในห้วงเวลาแห่งชีวิตที่เราประสบปัญหารุมเร้า สถานที่แห่งนี้ย่อมช่วยปลอบประโลมใจได้เป็นอย่างดื หรือมีไว้ให้ได้เรียนรู้เรื่องราวทางศาสนา เป็นดังตำราเล่มใหญ่กางไว้ให้ได้เข้าไปศึกษาผ่านพุทธศิลป์ต่างๆ ที่ปรากฎมีบนตังงานสถาปัตยกรรมและมีไว้ให้ชื่นชมดื่มด่ำกับศิลปะไทยแขนงต่างๆ ที่มีอยู่อย่างเรียกได้ว่าแทบจะครบถ้วนกระบวนงานช่างไทย เป็นการขัดเกลาจิตใจไปเฉกเช่นการเสพงานศิลป์ตามพิพิธภัณฑ์ชั้นนำในปัจจุบัน ซึ่งคุณค่าความงามในลักษณะดังกล่าวย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดดังปรากฎเห็นชาวต่างชาติที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาชื่นชมความงามของศิลปะสถาปัตยกรรมไทยกันมากมาย เช่น วัดพระแก้ว เป็นต้น
มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าซึ่งมีอยู่มากมายไม่ได้มีแต่เฉพาะในกรุงเทพฯเท่านั้น ตามต่างจังหวัดท้องถิ่นหลายต่อหลายแห่งก็ล้วนเป็นอู่อารยธรรมที่มีคุณค่ายิ่ง ที่อวดชาวต่างชาติได้อย่างภาคภูมิ แม้สถาปัตยกรรมบางแห่งอาจเป็นเพียงอาคารหลังเล็กๆ แต่กลับสูงด้วยคุณค่าแห่งความเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น น่าเสียดายที่คนไทยด้วยกันเองกลับมองข้ามไป สิ่งเหล่านี้เป็นฐานอันมั่นคงของท้องถิ่นที่สามารถต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ วัฒนธรรมอื่นๆได้ เพียงแต่ต้องมีนักวิชาการ ผู้รู้ หรือแม้แต่ปราชญ์ท้องถิ่นที่จะได้ช่วยกันคิดช่วยกันทำ ดังเช่น สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ก็ได้มีโครงการต่างๆหลายชิ้นที่ดำเนินการเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในเชิงวัฒนธรรมด้านต่างๆอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมรดกทางด้านสถาปัตยกรรมไทยที่รวมไว้ตั้งแต่อาคารบ้านเรือนเรื่อยไปกระทั่งวัดวาอาราม ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจน ควรที่ชุมชนจะได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าความสำคัญที่มีอยู่ในงานสถาปัตยกรรมไทยเหล่านั้น โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน แม้จะมีบทบาทที่แตกต่างจากอดีตไปแล้วก็ตาม แต่นั่นคือภูมิปัญญารากฐานที่ควรภูมิใจและหาทางสืบสานและสร้างสรรค์ต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้ให้งอกงามจากรุ่นสู่รุ่นต่อไปได้อย่างไม่ขาดสาย สิ่งที่ไม่สมสมัยก็ต้องปรับเปลี่ยไปเป็นธรรมดาแห่งลักษณะของวัฒนธรรม ซึ่งคงต้องอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วน แต่ที่สำคัญคือการริเริ่มจากท้องถิ่นต่างๆนั้นเอง


คุณค่าที่มีอยู่ในงานสถาปัตยกรรมไทยนั้นเราอาจเริ่มต้นเรียนรู้กันได้จากมรดกชิ้นสำคัญต่างๆของชาติ ที่บรมครูได้รังสรรค์ไว้แล้ว หากได้เรียนรู้อย่างเข้าใจจากงานชั้นเยี่ยม เราก็จะเข้าใจสิ่งต่างๆที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด เพราะหากเราไม่เคยรู้เห็นของดี เราย่อมไม่สามารถประเมินคุณค่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาได้ เราจะได้มาเรียนรู้ร่วมกันในโอกาสต่อไป

ผู้เขียน : ประกิจ ลัคนผจง
บทความจาก : จุลสารสถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

จิตรกรรมไทย


(จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระแก้ว ห้องที่ 51 ตอน สุครีพหักฉัตร) 

จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต เพลงชาติไทย จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว


จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี เพลงชาติไทย ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ แบบ คือ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี และจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย 

ขอบคุณที่มา  thai-finearts

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว


วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ตรงมุมด้านตะวันเฉียงเหนือของพระบรมราชวังเป็นที่ประดิษฐานพระมหามณีรัตนปฏิมากร ( พระแก้วมรกต ) และใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ วัดพระแก้วสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2327 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 -9 ตลอดทุกรัชกาล ภายในพระอุโบสถ และระเบียงรอบวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามมาก สิ่งที่น่าสนอื่นๆ ภายในวัดได้แก่ พระปรางค์ 8 องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทนครวัดจำลอง ฯลฯ
พระอารามหลวงในบริเวณพระบรมมหาราชวังแห่งนี้ เป็นหนึ่งในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกๆ ของประเทศ ที่เปิดเผยออกสู่สายตาของชาวโลกเมื่อแรกเริ่มมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 50 ปีก่อน นอกจากความสำคัญในฐานะเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร “ พระแก้วมรกต ” สถาปัตยกรรมหลายยุคสมัยที่สร้างเสริมสืบต่อกันมาและการตกแต่งประดับประดาอันอลังการ ก็เป็นเอกลักษณ์ที่ดึงดูดใจ โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังรอบพระระเบียงคด เรื่องรามเกียรติ์อันวิจิตรตระการตาและมีความยาวที่สุดในโลก เพลงชาติไทย
จากการสำรวจโดยกรุงเทพโพลของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อต้นปี 2553 นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ชื่นชอบมากที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย เรียกว่าได้คะแนนเสียงทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างเป็นเอกฉันท์ สมศักดิ์ศรีความเป็น “ สุดยอดของสุดยอด ” แหล่งท่องเที่ยวไทยในดวงใจอย่างแท้จริง
ศาลาเครื่องอิสริยยศ และเหรียญกษาปณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมราชวังด้านขวามือก่อนถึง ทางเข้าพระราชวังส่วนใน จัดแสดงเหรียญกษาปณ์ และเงินตราที่ใช้ในประเทศไทยรวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสำนักฝ่ายใน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 225-0968 เพลงชาติไทย
พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม ( สำหรับชาวต่างประเทศเสียค่าเข้าชม 125 บาท ) ซึ่งราวมบัตรเข้าศาลาเครื่องราชอิสริยยศ และเหรียญกษาปณ์ ค่าเข้าชมพระที่นั่งวิมารเมฆ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 222-0094 , 222-6889 และ 224-3273
ขอบคุณที่มา thai.tourismthailand.org

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำชาติไทย


ดอกไม้ประจำชาติไทย คือ ดอกราชพฤกษ์ (Golden shower) หรือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ ดอกราชพฤกษ์ คือ Cassia fistula

           ดอกไม้สีเหลืองอร่ามที่มักพบเห็นได้ทั่วไปตามริมถนนสายต่าง ๆ คือสีสันของ ดอกราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน ต้นไม้มงคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็น ดอกไม้ประจำชาติไทย ทั้งยังเชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้วจะเสริมให้คนในบ้านมีเกียรติยศชื่อเสียงมากขึ้นด้วย ยิ่งใกล้เข้าสู่เวลาแห่งการเปิดประตูต้อนรับเพื่อนบ้านอาเซียนกันแล้ว ในวันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำข้อมูลเกี่ยวกับดอกไม้ประจำชาติไทยอย่าง ดอกราชพฤกษ์ มาให้ทำความรู้จักกันจ้า เพลงชาติไทย

ประวัติดอกราชพฤกษ์

           ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน เป็นต้นไม้พื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย พม่า และศรีลังกา โดยนิยมปลูกกันมากในเขตร้อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง และเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมาหลายสิบปี โดยมีการเสนอให้ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัด จนกระทั่งมีการลงนามให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544


ดอกไม้ประจำชาติไทย

           เนื่องจาก ต้นราชพฤกษ์ ออกดอกสีเหลืองชูช่อ ดูสง่างาม อีกทั้งยังมีสีตรงกับ สีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงถูกตั้งชื่อว่าเป็น "ต้นไม้ของในหลวง" และมีการลงนามให้ต้นราชพฤกษ์ เป็นหนึ่งใน 3 สัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยมี 1. ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติไทย 2. ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมประจำชาติไทย และ 3. ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย

เหตุผลเลือกเป็นดอกไม้ประจำชาติไทย

           1. เนื่องจากเป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และมีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย

           2. มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีสำคัญ ๆ ในไทยและเป็นต้นไม้มงคลที่นิยมปลูก

           3. ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้เป็นยารักษาโรค อีกทั้งยังใช้ลำต้นเป็นเสาเรือนได้ เป็นต้น

           4. มีสีเหลืองอร่าม พุ่มงามเต็มต้น เปรียบเป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา

           5. มีอายุยืนนาน และทนทาน


ลักษณะทั่วไป

           เป็นต้นไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอร่าม แต่ละช่อยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร โดยกลีบดอกจะเป็นสีเหลือง 5 กลีบ มีผลยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่เป็นพิษ

การปลูกดอกราชพฤกษ์

           นิยมปลูกด้วยเมล็ด โดยจะมีการเจริญเติบโตช้าในช่วง 1-3 ปีแรก แต่หลังจากนั้นจะมีการเติบโตเร็วขึ้น และออกดอกตอนอายุประมาณ 4-5 ปี

การดูแลรักษา

           แสง : ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง และเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้งเป็นพิเศษ

           น้ำ : ชอบน้ำน้อย ควรรดน้ำ 7-10 วันต่อครั้ง สามารถทนกับสภาพอากาศร้อนได้ดี

           ดิน : สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียว

           ปุ๋ย : นิยมใส่ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยคอก ในอัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น และควรให้ปุ๋ยปีละ 3-4 ครั้ง


การขยายพันธุ์

           วิธีขยายพันธุ์ต้นราชพฤกษ์ที่นิยม คือ การเพาะเมล็ด โดยใช้เมล็ดสด ๆ มาขลิบด้วยกรรไกรตัดเล็บ แต่ต้องเลือกขลิบบริเวณด้านป้าน เพราะด้านแหลมจะมีต้นอ่อนอยู่ จากนั้นนำไปแช่น้ำสะอาดทิ้งไว้ข้ามวัน จึงค่อยเทน้ำออกให้เหลือปริมาณพอหล่อเลี้ยงเมล็ดได้ จากนั้นทิ้งไว้อีกคืนก็จะพบรากงอก และสามารถนำลงปลูกได้เลย
ความเชื่อเกี่ยวกับต้นราชพฤกษ์ เพลงชาติไทย

           เชื่อว่าเป็นต้นไม้มงคล ที่ควรปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ และหากปลูกไว้ในบ้านจะช่วยให้มีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางไสยศาสตร์ โดยใช้ใบทำน้ำพระพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ เนื่องจากเป็นไม้มงคลนาม

          และนี่คือข้อมูลเกี่ยวกับ ดอกราชพฤกษ์ เมื่อได้รู้จักกับข้อมูลของ ดอกไม้ประจำชาติไทย กันไปแล้ว ก่อนจะเปิด AEC หากมีโอกาสได้พูดคุยกับชาวต่างชาติจะได้อธิบายให้เขาฟังถึงที่มาที่ไปได้นะคะ

ขอบคุณที่มา  hilight.kapook.com/view/86940

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ยอดเยี่ยม !! โค้ชซิโก้ยันไทยพึ่งตัวเองดีกว่ายืมจมูกคนอื่นหายใจ


"โค้ชซิโก้" เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เฮดโค้ชทีมชาติไทย ยืนยันหนักแน่นว่าไทยจะพยายามเอาชนะอิรักให้ได้ด้วยตัวเอง หรือว่าถ้าเสมอก็ถือว่าเป็นผลงานที่น่าพอใจกับการเป็นแชมป์กลุ่ม ดีกว่าที่จะต้องมาคาดหวังให้เวียดนามเป็นตัวช่วยเพื่อทำให้ไทยเป็นแชมป์กลุ่ม
สำหรับการแข่งขันในเกมนนี้ทีมชาติไทยขอเพียงแค่บุกไปเสมอก็จะเข้ารอบ 12 ทีมสุดท้ายในศึกฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย ในฐานะแชมป์กลุ่มโดยอัตโนมัติ ขณะที่ อิรัก นั้นมี 8 คะแนนจากการลงสนาม 4 นัด ซึ่งพวกเขาจะต้องเอาชนะ ทีมชาติไทย และทีมชาติเวียดนาม ถึงจะกลายเป็นแชมป์กลุ่ม ซึ่งเรื่องนี้โค้ชซิโก้มองว่าอิรักน่าจะเป็นฝ่ายที่กดดันมากกว่าไทย เพลงชาติไทย
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง กล่าวว่า "แน่นอนว่าเรามาที่นี่เพื่อเป็นแชมป์กลุ่ม และเรามาในฐานะผู้นำของกลุ่ม เกมนี้มีความหมายกับเรามาก เราต้องการ 3 แต้มเพื่อเป็นแชมป์กลุ่มให้ได้ แต่ว่าหากผลออกมาเสมอก็ถือว่าเป็นผลงานที่ทำได้ตามเป้าของเรา"
"อีกอย่างคือเราไม่คิดที่จะไปยืมจมูกคนอื่นหายใจเลยสักนิด เราไม่เคยคิดหวังจะไปรอให้เวียดนามเอาชนะอิรัก เพื่อส่งชาติของเราให้เข้ารอบ แต่เราจะพยายามเอาชนะให้ได้เพื่อส่งตัวเองเข้ารอบด้วยฝีเท้าของเราเอง"
"แน่นอนว่าอิรักเป็นทีมที่แข็งแกร่ง แต่บอกเลยว่าเราไม่ได้รู้สึกวิตกอะไรเลยสักนิด เกมแรกเราก็ไม่แพ้พวกเขามาแล้ว เราจะทำอย่างเต็มที่ตลอด 90 นาที เพื่อแฟนบอลชาวไทยทุกคน และเราก็มีเป้าหมายที่ชัดเจนที่อยากจะทำเพื่อแฟนบอล"  เพลงชาติไทย
ทั้งนี้ ทีมชาติไทย จะลงทำการแข่งขันกับ ทีมชาติอิรัก ในศึกฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสองนัดสุดท้าย ที่ สนาม ปาซ เตหะราน กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ช่วงค่ำวันนี้ เวลา 21.00 น. ช่อง ONE ถ่ายทอดสด
ขอบคุณที่มา  football.kapook.com


วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

สัมภาษณ์ เสียงพูด “ธงชาติและเพลงชาติไทย” เขาคือใครกัน?

“ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย”


ประพันธ์ หิรัญพฤกษ์

เจ้าของเสียงพูดดังกล่าวซึ่งเป็นอดีตผู้ประกาศข่าวของกรมประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนทุกท่านยืนตรงเคารพธงชาติ  “ประพันธ์ หิรัญพฤกษ์” ชายชราวัย 74 ที่ปัจจุบัน เกษียนราชการและออกมาใช้ชีวิตเรียบง่าย ขณะที่ยังทำงานรับใช้มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เปิดเผยความเป็นมา ตลอดจนแง่คิดจากชีวิตและการทำงานของคนคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของเสียงอมตะมาตราบกระทั่งทุกวันนี้…
  • ขอย้อนถามไปถึงที่มาที่ไปยังไง ก่อนจะได้มาอ่านคำขึ้นต้นก่อนเพลงชาติไทย เมื่อก่อน ลุงเคยเป็นนักดนตรีอยู่วงสุนทราภรณ์ ก็เล่นดนตรี ตระเวนไปทั่ว แต่มีครั้งหนึ่ง ลุงได้เห็นผู้ประกาศข่าวเขามาดูดนตรี จึงรู้สึกสนใจและลองไปสอบ แล้วลุงก็สอบผ่าน เข้าทำงานรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2510 ที่กรมประชาสัมพันธ์ ในตำแหน่งผู้ประกาศข่าว รวมเวลาที่รับราชการมาก็เกือบ 40 ปี
  • เขามีการคัดเลือกอย่างไรหรือคะ ในตำแหน่งของผู้ประกาศสมัยนั้น ก็สอบธรรมดา มีการแข่งขันกันตามปกติของการสอบเข้าบรรจุข้าราชการ แต่บังเอิญลุงสอบได้ (หัวเราะ) เเต่ว่าครั้งแรกนั้นสอบไม่ผ่าน เพราะเขารับคนเดียว แต่ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2510 เขารับข้าราชการหลายอัตรา ลุงก็เลยสอบได้ (หัวเราะ)
  • เพราะน้ำเสียงของเราหล่อชัดเจนหรือเปล่าคะ ไม่หรอก (หัวเราะ) ลักษณะคุณภาพของผู้ที่เป็นผู้ประกาศของกรมประชาสัมพันธ์ เสียงของวิทยุประเทศไทยมีลักษณะที่คล้ายๆ กัน คือเสียงต้องทุ้มนิดๆ แต่จุดสำคัญนั้นอยู่ที่การอ่านข่าวที่ลื่นไหล ไม่มีปัญหาของการอ่าน อักขระชัดเจนในภาษาไทย นี่คือสิ่งสำคัญมากกว่า
  • หลายคนมักถามว่าทำไมถึงต้องมีคำอ่านก่อนเพลงชาติไทยจะขึ้น เพื่อให้คนได้รู้ว่า ทำไม เราต้องยืนตรงเพื่อเคารพธงชาติไทยและเพลงชาติไทย
  • หลากคนหลากความคิด และหลายคนก็สงสัยว่าทำไมเราต้องยืนเคารพเพลงชาติ คุณลุงคิดอย่างไรบ้างคะ มันก็เป็นความคิดของเขา แต่ในความคิดของลุงคือการได้หยุด ได้คิด บางคนยืนไม่พอร้องตามเลย อินไปมาก (ยิ้ม) แต่ว่าในส่วนของลุง มันก็ดีอย่างหนึ่ง ให้หยุดแล้วคิด เมืองไทยของเรา ชาติไทยของเรา เราโตมาเพราะบรรพบุรุษได้สร้างสมไว้ ก็เป็นความดีอย่างหนึ่ง ส่วนบางคนที่ว่าไม่จำเป็น ก็แล้วแต่เขา เพราะมันก็ย่อมจะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จะให้คนคิดแบบเดียวกันหมด มันคงไม่ได้หรอก คนเราพื้นฐานมันมากันคนละอย่างครับ
ขอบคุณที่มา ประเพณีไทยๆ.com

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

ทำไม?เพลงชาติไทยต้องเปิดตอน 8 โมงเช้า และ 6 โมงเย็น

คนไทยในปัจจุบัน มักจะคุ้นเคยกับเสียง เพลงชาติไทย ที่ดังขึ้นในช่วง 8 โมงเช้า กับ 6 โมงเย็นอยู่เสมอ เพราะการที่คนไทยต้องเคารพธงชาติวันละ 2 เวลา ซึ่งได้แก่ช่วงเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. นั้น ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในการรณรงค์ เพื่อให้คนไทยได้รู้จัก เพลงชาติไทย มากยิ่งขึ้น ในช่วงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการรณรงค์ที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยรัฐนิยม แต่แล้วเมื่อสิ้นสุดยุครัฐนิยมแล้ว ทุกอย่างเกี่ยวกับเพลงชาติไทย ที่ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียม ก็มักจะห่างหายและซาลงไปเช่นกัน


ส่วนช่วงในระยะเวลาต่อมา นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ทางรัฐบาลจึงได้เห็นว่า หลักการตามที่กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดช่วงเวลา ในการชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา พร้อมกับมีการ ขับร้องเพลงชาติไทย จะมีขึ้นในช่วงเวลา 8 โมงเช้า และช่วงเวลา 6 โมงเย็นเท่านั้น ซึ่งทุกครั้งที่มี เพลงชาติไทย ดังขึ้น ข้าราชการทุกคนจะต้องหยุดยืนเพื่อเคารพธงชาติ โดยเฉพาะในช่วงเวลา 8 โมงเช้า เพื่อแสดงให้เห็นและนับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดี ให้กับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ ได้กระทำและปฏิบัติตามสืบต่อกันมา


และนอกจากนี้ ระเบียบยังคงกำหนดและระบุว่า ให้ตามสี่แยกต่าง ๆ ตามท้องถนน จะต้องมีเครื่องขยายเสียงไปติดตั้ง เพื่อที่จะประกาศการเทียบเวลาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 2 ช่วงเวลาคือ เวลา 8 โมงเช้า และ 6 โมงเย็น พร้อมกับมีการ เปิดเพลงชาติไทย และเมื่อเพลงชาติไทยดังขึ้นครั้งใด คนไทยทั่วประเทศจะต้องหยุดยืนตรงเคารพธงชาติอย่างพร้อมเพียงกัน

ขอบคุณที่มา http://www.qadaia.net/




วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย


 เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย
คือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทยได้อย่างดีที่สุดเพราะประเทศไทย
นั้นได้ชือว่าเป็นประเทศ เอกลักษณ์เป็นของตัวเองชาติหนึ่งของโลก
 มีอักขระ ตัวอักษรที่เป็นเฉพาะของตัวเอง เพลงชาติไทย
     พร้อมกับกระแต่งกายแบบฉบับไทย ที่มีรูปแบบลวดลายที่สวยงาม
อ่อนช้อย อีกทั้งการแต่งกายแบบฉบับไทยในสมัยปัจจุบัน
ได้นำเอาไปประยุกต์ในแบบสากลจนเป็นที่โด่งดังไปทั่วในเรื่องความสวยงาม
 นอกจากความสวยงามที่ไม่เหมือนใครของเครื่องแต่งกายแล้วนั้น
ความสวยที่สื่อออกมาจากตัวตนแห่งคนไทย ก็จะเป็น”การไหว้”
ที่เป็นเอกลักษณ์ชาติเดียวใรโลกที่ไม่มีใครเหมือน
 เอกลักษณ์ของไทยนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่การไว้ที่สวยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
 ยังมีสถาปัตยกรรม แบบไทยๆ ที่สามารถเห็นได้ตาม ศาสนสถาน(วัด)
โบสถ์วิหาร ปราสาทพระราชวัง และอาคารบ้านทรงไทยอันสวยสดงดงาม
    เอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่เห็นเดนชัดก็คือการแสดง
รำไทย ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างดี
    เอกลักษณ์ทางดนตรีไทยนั้นก็ไม่เป็นรองชาติใดในโลกเหมือนกัน
ซึ่งสามารถขับขาน บรรเลงเสียงที่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ต้องมนต์สะกดของเสียงเพลงเลยทีเดียว  เสน่ห์ของดนตรีไทยยังสามารถ
นำมาผสานรวม ร่วมกับดนตรีสากลเพิ่มความไพเราะไปอีกในรูปแบบหนึ่ง
อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียวเชียว
ขอบคุณที่มา thaigoodview.com

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประมวลภาพ : ทีมชาติไทยซ้อม ก่อนบุกดวล อิรัก วัดแชมป์กลุ่ม เอฟ


ขุนพลนักเตะทีมชาติไทย ชุดเตรียมทำศึกฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง กลุ่มเอฟ กับ ทีมชาติอิรัก ในวันที่ 24 มีนาคมนี้ ที่กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เวลา 21.00 ช่องวัน ถ่ายทอดสด  

โดยเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม 2559 เวลา 16.00 น. "แข้งช้างศึก" ได้ลงทำการฝึกซ้อมครั้งแรก ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน
ภายใต้การควบคุมของ "ซิโก้" เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หัวหน้าผู้ฝึกสอน และ ทีมงานสต๊าฟฟ์โค้ช

ทั้งนี้ในระหว่างการฝึกซ้อม "บิ๊กอ๊อด" พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังได้เดินทางมาให้กำลังใจพร้อมมอบโอวาทแด่นักฟุตบอลด้วย เพลงชาติไทย






ขอบคุณที่มา http://sport.sanook.com/213929/



วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรื่องของเพลงชาติไทย


     ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจใน "บทบาทและหน้าที่ของเพลงชาติไทย" เสียก่อนว่า เพลงชาติมีบทบาทหน้าที่เป็นเพลงประจำชาติ เพื่อประชาชาติ เป็นเพลงหลักของชาติที่รวบรวมจิตใจคนในชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
            เพลงชาติแสดงถึงความเป็นเอกราชที่ชาติไม่เป็นเมืองขึ้นแก่ใคร เป็นเพลงที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวิญญาณชาติ เพลงชาติเป็นสัญลักษณ์ของชาติ และเพลงชาติเป็นเพลงพิธีกรรมของประชาชน
            สถานภาพของเพลงชาติไทยนั้นประดุจ "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง"  เพราะทำหน้าที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคนในชาติ ให้รู้สึกอบอุ่น มีที่พึ่ง มีความภาคภูมิใจ มีความมั่นคง มีความเชื่อมั่น และน่าเชื่อถือ
            เพลงชาติทำให้คนในชาติรู้สึกว่าชาติของตนนั้นยิ่งใหญ่ และเป็นเพลงของที่สุดยอดในความเป็นคลาสสิคของชาติ
            เมื่อเพลงชาติมีสถานภาพเหมือน "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง"  เป็นทั้งศาล เป็นทั้งเจ้าพ่อ และเป็นหลักให้สังเกตว่า "หลัก" ใหญ่กว่าศาลและใหญ่กว่าเจ้าพ่อ เมื่อเพลงชาติเป็นหลัก คนในชาติมีสิทธิที่จะทำความสะอาด ดูแลรักษา ให้ความเคารพ แต่ไม่สามารถที่จะตัดทอน เปลี่ยนแปลง ทำลายหลักของชาติได้
            ในกรณีของเพลงชาติที่มีความหมายว่าเป็น  เพลงคลาสสิค ขอขยายความได้ดังนี้
            ประการแรก  เพลงชาติเป็นเพลงที่มีฉบับเดียว "หนึ่งเดียว" เป็นเพลงเดียวที่แสดงถึงความเคารพรักที่มีต่อชาติ
            ประการที่สอง  เพลงชาติหมายถึง ความสุดยอด การประพันธ์ และการเรียบเรียงขึ้นด้วยความประณีตที่สุด บรรเลงด้วยความสามารถสูงสุด และเพลงชาติขับร้องด้วยนักร้องที่ดีที่สุด เท่าที่คนในชาติพึงมีและพึงสามารถจะกระทำได้
            ประการที่สาม  เพลงชาติไทยประพันธ์ขึ้นในลีลาของเพลงคลาสสิค เพราะพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)  ซึ่งเป็นนักดนตรีคลาสสิค ได้ประพันธ์เพลงชาติ จึงเป็นแบบฉบับของเพลงคลาสสิค และเพลงชาติไทยไม่ใช่เพลงประโลมโลกที่จะนำมาทำกันเล่น ๆ ได้
            ในความหมายของความเป็นคลาสสิค ขอยกตัวอย่างภาพของโมนาลิซ่า หากใครถือสิทธิไปเติมไฝ ใส่ตุ้มหู ถอนขนคิ้ว ฯลฯ เพื่อให้นางโมนาลิซ่า "สมสมัย" ได้หรือไม่
            คำตอบก็คือ ไม่สามารถที่จะทำได้ เพราะภาพโมนาลิซ่าถูกเปลี่ยนแปลงเมื่อใด คุณค่าก็จะหายไป สาธารณะก็จะโวยวายว่า ไม่ใช่ภาพของโมนาลิซ่า "ของแท้"  อีกต่อไป เพราะความเป็นคลาสสิค ไม่สามารถที่จะทำเทียมหรือเลียนแบบได้ ของแท้เท่านั้นที่เป็นจริง
            ความเป็นคลาสสิค ความมีคุณค่าเป็น "สัจนิยม" เป็นจริงเช่นนั้น หากไม่เป็นความจริง ก็ไม่มีความหมายเช่นนั้น
            ในกรณีปัญหาของเพลงชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น
            เนื่องมาจากบริษัทจีเอ็มแกรมมี่ ซึ่งเป็นบริษัทของเอกชน ได้นำเพลงชาติไปเรียบเรียงเสียงประสานขึ้นใหม่ ๖ ฉบับ (รวมของเอกลักษณ์อีก ๑ ฉบับ)  เป็น ๗ ฉบับ คำถามแรกที่ประชาชนข้องใจคือ ประเทศไทยนั้นมีกี่ประเทศ เพราะเมื่อเพลงชาติแต่ละประเทศก็มีเพียงฉบับเดียว คำตอบเมื่อประเทศไทยมีเพียงประเทศเดียว เพลงชาติก็ต้องมีเพียงฉบับเดียว
            คำถามต่อไปมีอยู่ว่า ประเทศไทยเป็นของบริษัทหนึ่งบริษัทใดหรือเปล่า ถ้าประเทศไทยเป็นของบริษัท ทางบริษัทจะทำเพลงอย่างไรให้เป็นสมบัติของบริษัทก็ได้ แต่เมื่อประเทศไทยไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของบริษัทใด ๆ เพลงชาติจึงไม่สามารถให้บริษัทเป็นเจ้าของสิทธิ (เพลง)  ทั้งในการจัดทำและในการจัดผลประโยชน์หรือการจัดเก็บลิขสิทธิ์ในภายหลัง
            ปัญหาของเพลงชาติไทยในปัจจุบันก็คือ มีความพยายามที่จะ "ใช้ความรู้สึก"  (ของบริษัทไม่ใช่ความรู้สึกสาธารณะ)  ในการแก้ปัญหาของเพลงชาติ โดยอ้างว่า เพลงชาติไม่ทันสมัย ไม่สนองความไพเราะของคนทุกกลุ่ม ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง เชย ไม่เหมาะกับกาลเทศะให้โอกาสเป็นตัวตั้ง (เนชั่นสุดสัปดาห์)
            อย่าลืมว่าเพลงชาตินั้น เป็นอนุสรณ์ของจิตใจ อยู่เหนือกาลเวลา อยู่เหนือยุคสมัย อยู่เหนือความรู้สึก นึกคิด ซึ่งเป็นมิติของเวลา รู้สึกในปัจจุบัน นึกถึงอดีต  และคิดถึงอนาคต  ดังนั้น เพลงชาติมีบทบาทหน้าที่สร้างความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ให้กับปวงชน (สาธารณะ)  ไม่ใช่คนมีความรู้สึกใหญ่กว่าเพลงชาติ
            และที่สำคัญก็คือ  ปัญหาเพลงชาติก็คือ ปัญหาของชาติ การแก้ปัญหาของชาตินั้น "ต้องใช้ความรู้" ในการแก้ปัญหา ไม่ใช่ใช้ความรู้สึกส่วนบุคคลในการแก้ปัญหาชาติ
            แน่นอนในหลาย ๆ ปัญหาสามารถแก้ปัญหาได้ โดยอาศัยความรู้สึก ปัญหาพื้น ๆ ปัญหาส่วนตัว แต่เมื่อปัญหาของชาติ เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของคนทั้งชาติ จะใช้เพียงความรู้สึกเดียวแก้ปัญหาไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องแก้ปัญหาด้วยความรู้และปัญญา เพราะเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก และเป็นเรื่องของคนทั้งชาติ
            อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกเป็นเรื่องของ "ค่านิยม"  ประเภทเดียวกับ "เอกลักษณ์ชาติ"  โดยอาศัยการโฆษณาชวนเชื่อให้เป็นค่านิยมของชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยจากภายนอก ซื้อหาเอาได้ แต่ความจริงแล้วความเป็นคลาสสิคอย่างเพลงชาตินั้น เป็นเรื่องของ "รสนิยมและคุณค่า"  เป็นปัจจัยที่จะต้องสร้าง ก่อเกิดขึ้นจากภายใน
            การที่ใครคนใดคนหนึ่ง  "ฟังไม่รู้ดูไม่ออก"  ใช้ค่านิยมซึ่งเป็นความเลื่อนลอยและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ มาเป็นตัวกำหนดตัดสินเพลงชาติ จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอสำหรับคนในชาติ
            เพลงชาติเป็นเรื่องของรสนิยม  เพราะรสนิยมเป็นอาภรณ์ของผู้เจริญ การแสวงหาความรู้โดยผ่านการศึกษานั้น แท้จริงแล้วเป็นการเรียนรู้เพื่อความเจริญทั้งสิ้น รสนิยมจึงเป็นความเจริญที่ต้องอาศัยความรู้ผู้รู้เป็นผู้เจริญ และผู้รู้เป็นผู้ชี้นำความเจริญของชาติ
            สำหรับค่านิยม ประชานิยม ประชาธิปไตย ใช่ว่าจะใช้ได้หรือใช้ตัดสินกับเรื่องทุกเรื่องได้ เพราะบางเรื่องก็ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ โดยเฉพาะ ความรู้กับความไม่รู้ " โดยธรรมชาติแล้วความรู้มีน้อยกว่าความไม่รู้ คนรู้เป็นชนกลุ่มน้อย เมื่อใช้วิธีประชานิยม โดยการยกมือออกเสียง ความไม่รู้จะชนะความรู้ทุกครั้งไป
            พิเศษเฉพาะประเทศไทยนั้น มีความไม่รู้อยู่กับสื่อมากกว่าความรู้ อำนาจความไม่รู้ควบคุมสื่อ อาศัยอำนาจสื่อไปกำหนดสร้างเป็นค่านิยม ทั้ง ๆ ที่คนในชาติมีรสนิยมและมีความรู้เพียงพอที่จะต่อสู้กับสื่อของความไม่รู้ได้
            ปัญหาของเพลงชาติไทยจึงเกิดขึ้นระหว่าง บริษัทที่ต้องการใช้สื่อกำหนดค่านิยม ต่อสู้กับรสนิยมของคนในชาติ ปัญหาจึงเกิดขึ้น
            อีกกรณีหนึ่งหากพิจารณาว่าใครมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเพลงชาติในครั้งนี้บ้าง ซึ่งมีอยู่ ๒ องค์กรด้วยกันคือ สำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ และกระทรวงกลาโหม โดยบริษัทจีเอ็มแกรมมี่เป็นผู้ผลิตเพลง
            จึงมีคำถามว่า ระหว่างคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ ที่ขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรีกับกระทรวงกลาโหม ใครมีสิทธิทำเพลงชาติ
            คำตอบก็คือ "ไม่มีสิทธิทั้งคู่"
            เพราะสิทธิของการดูแลเพลงชาตินั้นขึ้นกับกรมศิลปากร"  (ให้ไปดูประกาศของกรมศิลปากร)  กรมประชาสัมพันธ์มีหน้าที่เผยแพร่  คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาตินั้น มีหน้าที่หยิบยกจุดเด่นของชาติมาแนะนำ แต่ไม่มีหน้าที่สร้าง ส่วนกระทรวงกลาโหมนั้นมีหน้าที่ปกป้องประเทศ
            จะเห็นว่า  "สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับเพลงชาติ" จะเป็นตัวตัดสินได้ว่า ใครควรทำอะไรเกี่ยวกับเพลงชาติ ซึ่งก็พบปัญหาแบบเดียวกันนี้กันโดยทั่วไปว่า "คนไทยนั้นทำได้ทุกอย่างยกเว้นงานในหน้าที่"
            มีข้อคำถามว่า การร้องเล่นเพลงชาติถูกต้องแล้วหรือ เพลงชาติจากทั้ง ๒ หน่วยงาน (๗ ฉบับ)  ไม่ถูกต้องตามที่ผู้ประพันธ์เอาไว้ ทั้งทำนอง คำร้อง และการเรียบเรียงเสียงประสาน ผิดวัตถุประสงค์ของการใช้ เพราะเพลงชาติไม่ใช่เพลงประโลมโลกย์ ดังได้กล่าวไว้แล้ว
            บิดาของพระเจนดุริยางค์ได้กำชับไม่ให้ยึดถือวิชาดนตรีเป็นอาชีพเป็นอันขาด ท่านให้เหตุผลว่า "คนไทยเราไม่ใคร่สนใจศิลปะการดนตรีเท่าใดนัก ชอบทำกันเล่น ๆ สนุก ๆ ไปชั่วคราวเท่านั้น แล้วก็ทอดทิ้งไป"   ซึ่งตรงกับเหตุผลของคุณซูโม่ตู้ (รายการถึงลูกถึงคน)  และคนอื่น ๆ ที่ใช้ความรู้สึกเป็นเครื่องตัดสิน
            ศาตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย  กล่าวไว้ว่า "สิ่งที่ถูกต้องคือถูก แม้ไม่มีใครทำสิ่งนั้น สิ่งที่ผิดคือผิด แม้ทุกคนทำสิ่งนั้น" ซึ่งเป็นอุทาหรณ์เกี่ยวกับเพลงชาติไทยได้เป็นอย่างดี
            กรณีของเพลงชาติ สามารถวัดกระแสของความรักชาติผ่านเพลงชาติได้ เพราะคนส่วนใหญ่รู้ว่าเพลงชาติจริง ๆ คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร และทุกคนรู้สึกได้ว่า เพลงชุดใหม่ไม่ถูกต้อง ไม่ยอมรับ กระแสการต่อต้านเพลงชาติใหม่จึงออกมาแรง แรงเพียงพอที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องถอยทัพ
            ถอยไปตั้งหลักกันใหม่ เพื่อกลับไปหาหลักของเพลงชาติไทยที่มีอยู่เดิม

ขอบคุณที่มา blog.eduzones.com

กว่าจะเป็นเพลงชาติไทยในปัจจุบัน…

กว่าจะเป็นเพลงชาติไทยในปัจจุบัน…

 "ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน"    

ทันทีที่ได้ยินเพลงดังกล่าว เชื่อว่าคนไทยทุกคนคงต้องลุกขึ้นยืนตรงโดยอัตโนมัติ และก็เชื่ออีกเช่นกันว่า หลายๆ คนคงจะเคยขนลุกชันเมื่อได้ฟังเพลงชาติไทยที่ถูกบรรเลงในการแข่งขันกีฬานานา ชาติ เมื่อนักกีฬาของไทยคว้าเหรียญทองมาครอง
ความรู้สึกที่ว่าคงไม่เกิดขึ้นกับคนชาติอื่นๆ เมื่อได้ยินเพลงชาติไทย ...ความฮึกเหิม ซาบซึ้งและความภาคภูมิใจในเอกราช มีไว้สำหรับคนไทยที่เกิดและเติบโตมาพร้อมๆ กับเพลงชาติไทย ที่จะได้ยินสม่ำเสมอเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. นับแต่จำความได้
เหตุเพราะ “เพลงชาติไทย” เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของชาติและเป็นเพลงของคนไทยทุกคน ดังนั้น เมื่อมีกระแสข่าวออกมาว่าค่ายยักษ์ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจวงการเพลงอย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นำเอาเพลงชาติไปเรียบเรียงดนตรีและเสียงร้องขึ้นใหม่ แม้ว่าจะคงเนื้อและทำนองเดิมไว้ นั่นก็มากพอที่จะกระทบต่อความรู้สึกของคนในชาติ และตามมาด้วยกระแสต่อต้านอย่างมากมาย
แนวคิดเรื่องการแต่งเพลงประจำชาตินั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2414 หรือเมื่อ 134 ปีล่วงมาแล้ว โดยแนวคิดดังกล่าวเป็นอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก ซึ่งประเทศในแถบนั้นต่างมีเพลงประจำชาติมาก่อน 
สำหรับประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษโดยตรง เนื่องจากในช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ปี พ.ศ.2395 ได้มีนายทหารอังกฤษ 2 คน เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ในวังหลวงและวังหน้า ชื่อ ร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และ ร้อยเอกน็อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง 2 นายนี้ ได้ใช้ เพลง ก็อด เซฟ เดอะ ควีน (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร ซึ่งขณะนั้นประเทศอังกฤษใช้เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติ

 การฝึกทหารของไทยในสมัยนั้นได้ถอดแบบของประเทศอังกฤษทั้งหมด รวมถึงการใช้เพลงก็อด เซฟ เดอะ ควีน เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์สำหรับกองทหารไทยด้วย ซึ่งเพลงดังกล่าวถูกนำมาใช้อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2395-2414 โดยเรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ"
ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่ โดยใช้เนื้อเพลงก็อดเซฟเดอะควีนเดิม และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า "จอมราชจงเจริญ" ซึ่งเพลง “จอมราชจงเจริญ” นับว่าเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม มีเนื้อเพลงว่า “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”
ในปีพ.ศ.2414 ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ ซึ่งขณะนั้นสิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์สิงคโปร์ได้บรรเลงเพลงก็อด เซฟ เดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ
ครั้นเมื่อทรงเสด็จกลับถึงพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษาหาเพลงชาติที่มีความเป็นไทยมาใช้แทนเพลงก็อด เซฟ เดอะควีน เนื่องจากพระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของ ตัวเอง เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติ
คณะครูดนตรีไทยได้เลือก เพลงทรงพระสุบันหรือเพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ให้มีความเป็นสากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่ 2 ใช้บรรเลงอยู่ในช่วงปีพ.ศ.2414-2431
สำหรับเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประพันธ์โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปีพ.ศ.2431-2475
เพลงชาติไทยยังมีการเปลี่ยนแปลงต่อมาอีก เป็นฉบับที่ 4 ซึ่งนำ “เพลงชาติมหาชัย” มาใช้เป็นเพลงชาติ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองปีพ.ศ.2475 โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้น ประพันธ์โดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้องและบรรเลงปลุกเร้าใจประชาชน ก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคี ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เนื้อเพลง ดังนี้
" สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า "  
เพลงชาติไทยฉบับที่ 5 คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง คำร้องประพันธ์โดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปีพ.ศ.2475-2477 ซึ่งมีอยู่ 2 บทด้วยกัน คือ 
" แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาเอกราชชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัย ชโย "  
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเพลงชาติเป็นฉบับที่ 6 คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปีพ.ศ.2477-2482 เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง "ราชการ" ฉบับแรก เนื้อเพลง ดังนี้
" แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา รวมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีวิตร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยโบราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย
เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม
ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา
ถึงแม้ไทย ไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า
ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่า จะขัดสนหมดคนดี
เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้
ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสรเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย
จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมันรักชาติไม่ขาดสาย 
มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย " 
  
แต่เนื่องจากเนื้อเพลงชาติฉบับดังกล่าวยาวเกินไป ใช้เวลาบรรเลงถึง 3 นาที 52 วินาที จึงมีการประกวดเพลงชาติขึ้นใหม่ โดยใช้ทำนองเพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ (ฉบับที่ 5) เปลี่ยนคำร้องใหม่ ประพันธ์โดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งชนะการประกวด โดยส่งในนามของกองทัพบก รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้เพลงชาติไทยฉบับดังกล่าว ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2482 กระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีเนื้อร้อง ดังนี้
" ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย "  
นอกจากนี้ ได้กำหนดให้การบรรเลงเพลงชาติ ใช้สำหรับธงประจำกองทหาร ธงประจำกองยุวชนทหาร ธงชาติประจำสำนักงานของรัฐบาลในขณะขึ้นลง และธงราชนาวีประจำเรือ ขณะทำพิธีขึ้นลง ธงชาติในพิธีการที่ชักขึ้นเพื่อเป็นเกียรติภูมิของชาติ ซึ่งเพลงชาติที่เปิดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เป็นการบรรเลงและขับร้องโดยวงดุริยางค์สี่เหล่าทัพและกรมศิลปากร
กว่าจะมาเป็นเพลงชาติถึงทุกวันนี้...ใช่ว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ใครที่คิดจะเอาไปทำใหม่ลองฟังกระแสเสียงของคนในชาติดูปะไร ว่าใครเขาเห็นด้วยบ้าง
ขอบคุณที่มา http://www.finearts.go.th/