
เป็นเพราะ ลัทธิชาตินิยมในสังคมไทย ?
ชาตินิยม คือ ลักษณะที่นำไปสู่การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับ ระบบบริหาร ประเพณี วัฒนธรรมเดียวกัน ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันต่อชาติ
ลัทธิชาตินิยมเกิดขึ้นในสังคมไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
ลัทธิชาตินิยมในสังคมไทย เริ่มเกิดขึ้นสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านมีความตั้งใจที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า จึงคิดหาวิธีที่ให้รัฐบาลของตนมีความมั่นคงและบริหารประเทศได้นานทีสุด จึงพยายามชักจูงประชาชน โดยใช้วิธีการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมในหมู่ประชาชน และในช่วงนั้นก็มีเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสบีบบังคับเอาดินแดนไปจากไทย และเข้าร่วมกับญี่ปุ่นเพื่อประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา ทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกร่วมที่สนับสนุนรัฐบาล จนต่อมามีการประกาศให้ใช้รัฐนิยมอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีแนวปฎิบัติการเคารพธงชาติในประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 4
ปลูกฝังการเคารพธงชาติ
หลังจากให้ความสำคัญกับการเคารพธงชาติผ่านการประกาศรัฐนิยมให้มีการเคารพธงชาติแล้ว รัฐบาลยังได้ประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุกระจายเสียง ด้วยการสนทนาระหว่างนายมั่น ชูชาติ กับนายคง รักไทย ในรายการได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับธงชาติ ความสำคัญของธงชาติ และการประดับธงชาติในวันสำคัญต่างๆ
การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ชักชวนให้ประชาชนเคารพธงชาติได้มีกล่าวถึงความสำคัญของธงชาติว่าเป็นเครื่องหมายของความเป็นชาติ ความเป็นไทย เป็นที่รวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2485
จากที่กล่าวมา การเคารพธงชาติได้เกิดจากลัทธิชาตินิยม ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อหล่อหลอมให้เป็นหนึ่งเดียวกับคนในชาติ รู้สีกรักชาติ จนถึงปัจจุบัน
การประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 4
จอมพล ป พิบูลสงคราม ได้ประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 4 เห็นว่า ธงชาติ เพลงชาติไทย และเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นสิง่ที่คนไทยควรให้การเคารพ คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 4 ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2482 ดังนี้
- เมื่อได้เห็นการชักธงชาติขึ้นหรือลงจากเสาประจำสถานที่ราชการตามเวลาปกติ หรือได้ยินเสียงแตรหรือนกหวีดเป่าคำนับ ให้ทุกคนแสดงความเคารพโดยปฎิบัติตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม
- เมื่อได้เห็นธงไชยเฉลิมพล ธงเรือรบ ธงประจำกองยุวชนทหาร และธงประจำกองลูกเสือ ให้แสดงความเคารถโดยปฎิบัติตามประเพณีนิยม
- เมื่อได้ยินเพลงชาติไทย ให้ผู้ที่ร่วมงานอยู่ในวงงานนั้นแสดงความเคารพโดยปฎิบัติตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม
- เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี ให้ผู้ร่วมงาน หรือที่อยู่ในงานหรือในโรงมหรพสนั้นแสดงความเคารพตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม
- เมื่อได้เห็นผู้ใดไม่แสดงความเคารพในข้อ 1 , 2 , 3 และ 4 นั้น พึงช่วยกันตักเตือนชี้แจงให้เห็นความสำคัญแห่งการเคารพธงชาติ เพลงชาติไทย และเพลงสรรเสริญพระบารมี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น