วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

จราจรพัทยาทำเก๋!ให้เด็กร้องเพลงชาติลงโทษไม่สวมหมวกกันน็อค






เด็กนักเรียน โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา จ.ชลบุรี 

จำนวน 6 คน กำลังเข้าแถวร้องเพลงชาติไทย 

บริเวณริมถนนหน้า สภ.เมืองพัทยา 

จุดที่มีการกวดขันวินัยจราจร

ซึ่งมี ด.ต.ศรีสวัสดิ์ ธิวงศ์ษา และ ด.ต.สมศักดิ์ เจริญรัตนโชค 


ผบ.หมู่งานจราจร ปฏิบัติหน้าที่อยู่ 

โดยเด็กนักเรียนทั้ง 6 คน ได้ขี่รถจักรยานยนต์ 

ไม่สวมหมวกกันน็อค เจ้าหน้าที่จึงเรียกตรวจ 

ก่อนลงโทษ ด้วยการให้ยืนเข้าแถวร้องเพลงชาติ 

แล้วจึงปล่อยตัว โดยตำรวจทั้งสองนาย 

ยังพูดติดตลกว่า หากครั้งต่อไป พบไม่สวมหมวกกันน็อคอีก 

จะให้ร้องเพลงขอใจเธอแลกเบอร์โทร และเต้นไปด้วย

 
ด.ต.ศรีสวัสดิ์ และ ด.ต.สมศักดิ์ เปิดเผยว่า 


ทางผู้บังคับบัญชา ได้สั่งให้กวดขันวินัยจราจร 

โดยให้นึกหลักของความเป็นจริง ซึ่งที่ไม่ออกใบสั่งไป

ก็เพราะว่า นักเรียนคงจะไม่มีเงินเสียค่าปรับ 

และจะสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้ปกครอง 

จึงทำการตักเตือนให้เคารพวินัยจราจร 

และลงโทษด้วยการให้ร้องเพลงชาติ


สามารถติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับ เพลงชาติไทย ได้อีก

https://www.facebook.com/1562258934095331/

นอกจากประเทศไทย ยังมีชาติไหนบ้างที่ยืนตรงเคารพธงชาติ



รู้หรือไม่? นอกจากประเทศไทย ยังมีประเทศอื่นที่ยืนตรงร้อง ‪#‎เพลงชาติ‬ด้วยนะ
ก็คือ . .
ประเทศอินเดีย
เพลงชาติของประเทศอินเดีย คือเพลง “ชนะ คณะ มนะ” ( Jôno Gôno Mono; แปลว่า “ดวงมนแห่งชนผอง”)
เป็นเพลงที่เขียนด้วยภาษาเบงกาลีสันสกฤต ที่อินเดีย เพลงชาติจะบรรเลงก่อนหนังจะฉายเหมือนเพลงสรรเสริญพระบารมีในเมืองไทย และ เมี่อได้ยินเพลงชาติดัง ชาวอินเดียก็จะยืนตรงเคารพธงชาติเหมือนเมืองไทยเช่นกัน
ประเทศเม็กซิโก
ที่ประเทศเม็กซิโก โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีการเคารพธงเช้าในเช้าวันจันทร์ หรือ ช่วงเริ่มต้นภาคการศึกษาและสิ้นสุดภาคการศึกษาเหมือนกันนะครับ โรงเรียนหลายโรงเรียนในเม็กซิโก ให้เด็กนักเรียนใส่เสื้อสีขาวในวันจันทร์ ซึ่งแตกต่างกับชุดนักเรียนในทุกๆวัน นอกจากนี้ในการเคารพธงชาติ อาจารย์ในบางโรงเรียนยังเดินตรวจสอบนักเรียน ว่าได้ร้องเพลงชาติจริงๆหรือเปล่านะครับ
นอกจากนี้ที่เม็กซิโก มีผู้หญิงคนหนึ่ง ถูกเสียค่าปรับ 40 เหรียญ หลังจากที่แก้เนื้อร้องเพลงชาติเม็กซิโก จริงๆแล้วเธอจะต้องเสียค่าปรับถึง 880 เหรียญ แต่เพราะเธอยากจน เจ้าหน้าที่เลยปรับเธอแค่นั้น
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เวลาเพลงชาติดัง ไม่ว่าจะมีการเชิญธง หรือไม่มีธง ชาวอเมริกัน ก็จะยืนตรง เอามือขวาแนบที่หน้าอกเช่นเดียวกัน
ประเทศ อิตาลี
สำหรับประเทศอิตาลี เพลงชาติไม่ได้ถูกเปิดที่โรงเรียนหรือ พื้นที่สาธารณะ นอกจากระหว่างการแข่งขันกีฬา หรือ พิธีการที่มีประธานาธิบดีเข้าร่วม แม้ว่าจะไม่มีใครร้องเพลงชาติขณะที่เพลงชาติดัง แต่ชาวอิตาลีก็ยืนตรงและแสดงความเคารพเพลงชาติของพวกเขาเช่นเดียวกัน

สามารถติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงชาติไทยได้อีก >>เพลงชาติไทย<<


ภาพจาก www.franchisedd.com

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Thai National Anthem เพลงชาติไทย

Thai National Anthem

เพลงชาติไทย /pleeng châad tai/

In Thailand, you will hear the Thai national anthem played every day at 8am and 6pm. Every TV and radio station plays it, and it will be played over government building speaker systems, at the sky train and underground in Bangkok, bus stations, in parks and in most other public places.
Thai schools also play the national anthem every morning at 8am. All students are expected to attend and to sing the national anthem, and two students will raise the Thai flag up the school’s flag pole.
When the anthem is played, everybody has to stand up still until the end of the song if it is convenient.

Here are the lyrics;

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
/bprà-tâde tai ruam lûead núea châad chúea tai/
Thailand unites the flesh and blood of all the Thais,

เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
/bpen bprà-chaa-rát, pà-tai kăwng tai túk sùan/
The land of Thailand belongs to all the Thais,

อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
/yùu dam-rong kong wái dâai táng muan,
Their sovereignty has always long endured,

ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
/dûai tai lúan măai rák săa-mák-kii/
For the Thais seek love and also unity,

ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
/tai níi rák sà-ngòp, dtàe tŭeng róp mâi klàat/
Thais love peace, but if we have to fight the war, we don’t fear.

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
/àke-kà-ráat jà mâi-hâi krai kòm-kìi/
We don’t let anyone take away our freedom

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
/sà-là lûeat túk yàat bpen châat plii/
The Thais give up every drop of blood,

เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย
/tà-lĕrng bprà-tâde châad tai tá-wii mii chai chá-yoo/
Long last the nation’s pride and victory HOORAY!.

Next time you are in Thailand you won’t be surprise to see every Thai person stand still at 8 am and 6 pm. : )



สามารถติดตามพวกเราได้ทาง Facebook

กว่าจะมาเป็น เพลงชาติไทย




เคยรู้กันไหมว่าเพลงชาติที่เราร้องกันทุกๆวันนั้นแท้ที่จริงแล้วมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?

พอดีเมื่อวานนี้ได้ดูรายการ คุณพระช่วย” แล้วได้รู้ว่าเพลงที่บรรเลงก่อนจะเทียบนาฬิกาหรือก่อนเริ่มเพลงชาตินั้นจะเป็นเพลงไทยที่ สำเนียงพม่า เป็นเพลงที่ชื่อ พม่าประเทศ...

ส่วนเพลงชาติไทยที่เราร้องกันทุกวันนี้ มีประวัติที่มากันอย่างไร 

เราไปหาข้อมูลมานำเสนอแล้วคิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับพวกเราคนไทย 

ที่อย่างน้อยถ้ามีใครมาถามเรา ถึงเพลงชาติไทยว่ามีประวัติอย่างไร เราคนไทยจะได้ไม่อายเค้า...




เพลงชาติไทย เป็น สัญลักษณ์ ประจำชาติ แสดงความเป็น เอกราช ของชาติ ไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร เป็นแหล่ง รวมใจของคนในชาติให้เป็นจุดเดียวกัน สร้างความรู้สึกสำนึกในความเป็นพี่น้อง สร้างความภูมิใจ ในศักดิ์ศรี สิทธิ เสรีภาพ ระหว่างคนในชาติ และเพื่อปลุกใจให้เกิดความรักชาติ 
แต่เดิมประเทศไทยเรานั้นไม่ได้ร้องเพลงชาติกันแบบทุกวันนี้ เพราะกว่าจะมาเป็นเพลงชาติไทยที่เราร้องกันป่าวๆอยู่ทุกวันนี้แท้ที่จริงแล้ว เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ 4 ที่ทหารอังกฤษนำเพลง ก๊อดเซฟเดอะควีน ของประเทศอังกฤษ มาใช้ในการฝึกทหารแตร ของไทย และเป็นเพลงประจำชาติของอังกฤษ สมัยนั้นจึงได้ถือว่า
เพลงนี้ เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพ ต่อพระมหากษัตริย์ และคนไทยจึงเรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ" ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔
หลังจากนั้นได้มีการนำเพลง ก๊อดเซฟเดอะควีน มาดัดแปลเนื้อร้องแต่คง ทำนองเดิมไว้ แต่ตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า จอมราชจงเจริญ นับว่านี้คือ เพลงชาติไทยฉบับแรก ของประเทศสยาม ในขณะนั้น ที่ประพันธ์เนื้อร้อง โดย
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ต่อมา พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาส ประเทศสิงคโปร์ และได้มีการบรรเลงเพลง ก๊อดเซฟเดอะควีน” ถวายความเคารพ เนื่องจากขณะนั้น สิงคโปรเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ หลังจากเสด็จกลับ จึงตระหนักว่า ประเทศจำเป็นต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติ คณะครูดนตรีไทยจึงได้เลือก เพลงทรงพระสุบัน” หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ให้มีความเป็นสากลขึ้นโดย นายเฮวุดเซน ( Heutsen )ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑

เพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือเพลง สรรเสริญพระบารมี (ฉบับปัจจุบัน) ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๗๕

เพลงชาติไทยฉบับที่สี่ หลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (24 มิถุนายน2475) แล้ว เพลงชาติลำดับนี้เป็นเพลงชาติชั่วคราวคือ เพลงชาติมหาชัยประพันธ์โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) (เนื่องจากมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม คือเพลงมหาชัย ไปพลางก่อน) ซึ่งถูกใช้เป็นเวลา 7วัน ก็เปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน

เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า  ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เป็นเพลงชาติแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี  คำร้องของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)
          จนกระทั่ง พ.ศ. 2477 รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อเพลงชาติใหม่ เพลงที่ได้รับคัดเลือกคือฉบับที่ประพันธ์โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล เพลงชาติฉบับนี้ได้ใช้เป็นเพลงบรรเลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการอย่างเป็นทางการอยู่ระยะหนึ่ง สุดท้ายจึงเลือกใช้เพลงชาติฉบับของพระเจนดุริยางค์ จึงอาจจะกล่าวได้ว่าในยุคนั้นชาติไทยหรือประเทศสยาม ณ เวลานั้นของเรามีเพลงชาติไทยถึง ๒ แบบ ๒ ทำนอง

เพลงชาติไทยฉบับที่หก ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง "ราชการ" ฉบับแรก  เป็นเพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ทำให้เนื้อร้องเพลงชาติยาวมากเกินไป คนไทยส่วนใหญ่จึงนิยมร้องแต่เฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตราเท่านั้น

เพลงชาติไทยฉบับที่เจ็ด  ในปี พ.ศ. 2482 "ประเทศสยาม" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิม แต่กำหนดให้มีเนื้อร้องความยาวเพียง 8 วรรคเท่านั้น ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


ติดตามเรื่องราวของ #เพลงชาติไทย ได้อีกทาง Facebook

เพลงชาติไทยฉบับภาษาญี่ปุ่น





ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

เป็นประชารัฐผไทของไทยทุกส่วน

อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล

ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี

ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี

เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย



プラテートタイルアムルアットヌアチャートチュアタイ

ペンプラチャーラッパタイコーンタイトゥックスワン

ユーダムロンコンワイダイタンムワン

ドゥワイタイルワンマーイラックサーマキー

タイニーラックサゴップテートゥンロップマイカート

エーカラージャマイハイクライコムキー

サラルアットトゥックヤーペンチャートプリー

タルンプラテートチャートタイタウィーミーチャイ チャヨー

タイ国民はタイ国民の血と肉の結成である

タイの全領土はすべからずタイ国民のもと存続する

タイ人は純粋で調和を愛し、平和を愛する

しかし戦争になったとしても敗れはしない

我々タイ国民の独立は何人にも侵害はできない

国家のために血の滴の全てを捧げるであろう

タイ国に繁栄と栄光あれ!万歳!

คลิปการประกวดร้องเพลงชาติไทย



การประกวดร้องเพลงชาติไทย

จากเด็กๆชั้นประถมศึกษา

ภาคการมอบรางวัลชนะเลิศ

ในโครงการ ธงไตรรงค์ ธำรงไทย

ณ หอสมุดแห่งชาติ วันที่ 15 กันยายน พศ.2553

น่าประทับใจมากๆเลยครับ ผมปลื้มมาก

ที่เห็นเด็กไทย ร้องเพลงชาติไทยกันได้ถูกต้อง ไพเราะ

และยินดีกับผู้ชนะการประกวดเช่นกันครับ


สามารถติดตามพวกเราได้ทาง Facebook


ภาพหนึ่งภาพ บอกอะไรคุณได้บ้าง #เพลงชาติไทย




ภาพหนึ่งภาพ อาจตีความหมายได้เป็นหมื่นคำพูด
เมื่อคุณได้ดูภาพนี้ คุณเห็นอะไร
บางคนเห็นภาพนักกีฬาทีมชาติไทย
บางคนเห็นธงชาติไทยผืนใหญ่ที่กำลังโบกไสว
บางคนบอกนั่นไงคนกำลังร้องเพลงชาติไทย


ผมในฐานะผู้เขียน รู้สึกปลาบปลื้มทุกครั้งเมื่อได้ยินเพลงชาติไทย
ในสถานที่ โอกาสต่างๆทุกครั้ง
และยินดีหากมีคนสนใจในเรื่องราวของเพลงชาติไทย
ผมจึงได้จัดทำแฟนเพจในเฟสบุค
เพื่อให้คนทั่วไปได้ทราบถึงที่มาและประวัติอันดีงามของเพลงชาติไทย




โน๊ต #เพลงชาติไทย


มีคนอยากเห็นโน๊ต
 #เพลงชาติไทย ยุคก่อน 
วันนี้ผมหามาให้แล้วครับ ของเก่าบางอย่างก็มีคุณค่านะครับ


ติดตามเรื่องราวดี เกี่ยวกับเพลงชาติไทย ชาติไทยของเราได้ทาง

ธงชาติไทยปี พ.ศ. 2459




ช่วงท้ายในปีพ.ศ. ๒๔๕๙ 
ได้มีการยกเลิกการใช้ธงชาติแบบช้างเผือกทรงเครื่อง 
ยืนแท่น หน้าหันเข้าเสา 
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชดำริเปลี่ยนธงช้างเป็นธงแถบสี 
เพราะทรงเห็นความลำบากของราษฎร
ที่ต้องสั่งซื้อธงช้างมาจากต่างประเทศ 
และบางครั้งเมื่อเกิดความสะเพร่าติดธงผิด 
รูปช้างกลับเอาขาชี้ขึ้นเป็นที่น่าละอาย


สามารถติดตามบทความดีๆ เรื่อง #เพลงชาติไทย
ได้ทาง 
https://www.facebook.com/เพลงชาติไทย-เพลงชาติไทย-เพลงชาติไทย-1562258934095331/

History of Thai National Anthem

The national anthem of Thailand was one a symbol of the nation to create the same feeling a sense of brotherhood. The idea of national music Occurred during the reign of five years in 2414, influenced by the West, which is the national anthem before the influence of England by two British officers, who took over as coach recruits viceroy and the royal palace at the end of the fourth year of his reign.
In 2395 British officers said the two have used music name is “God Save the Queen” It is a song of Fame Offering homage to the King for the Military Division during the year 2395 to 2414 known as the "England National Anthem” Lord Oration or called Noi Ajanyangue has written lyrics for a new song texture using the route hugs the Queen original and set up a new song. "Central Kingdom prospers" is the national anthem of Siam. Then The King RamaV was well aware that the country is necessary and must be the national anthem as their own and order to demonstrate the independence of the nation counsel Thailand is a national anthem. Thailand has chosen music teacher's name is “Suban” which celebrates King Rama II's reign brought by two new remix a cosmopolitan by Heutsen.
Thailand is the third edition for Phra Baram (current), the royal anthem of Thailand. The lyrics were composed by Prince Narisaranuvadtivongs and were later revised by King Rama VI. The music may have been composed by a Russian composer named Pyotr Shchurovsky while other sources mention several Thai musicians and the Dutch musician Heutzen as the authors.
Thailand is the fourth version of Thai National Anthem change of government in 2475 The petition was authored by the Chao Phraya Dharmasakti Council for chorus and played a rousing up the cause of patriotism and unity.
The current Thai National Anthem the original by Peter Feit has change petition authored by Luang Saranupraphan is the national anthem since 2482 until the present. At that time, the Government has announced a contest. In September, the new national anthem of the winner of the contest includes Royal Colonel. The author's support which was submitted on behalf of the Army. The government has adopted a national anthem present Thailand on December 10, 2482.